ประเพณีกวมผ้าสังฆา (คลุมผ้าสังฆาฏิให้คนป่วย)

ผ้าสังฆาฏิ ในประเทศอินเดียฝ่ายเหนือ ในฤดูหนาวหิมะตก อากาศหนาวมากๆ พระภิกษุสงฆ์ในถิ่นนั้นอยู่ด้วยความลำลาก เวลาออกนอกสถานที่หรือเดินทางไปที่ต่างๆ พระมหากัสสปเถระเห็นความจะเป็นที่ ภิกษุต้องมีผ้าห่มกันหนาวเพิ่มขึ้น จึงขอพระบรมพุทธานุญาตทำจีวร หรืออุตราสงฆ์เพิ่มขึ้นอีกผืนหนึ่ง มีขนาดเท่ากับอุตราสงฆ์หรือผ้าห่มคลุมซ้อนในฤดูหนาว (มณี  พยอมยงค์, 2538)

การสวดพระปริตร โดยมีผ้าสังฆาฏิคลุมอยู่ ภายใต้บริเวณที่ ผ้าสังฆาฏิครอบหรือกวมอยู่ จะมีคนไข้นั่ง เอาบาตรคลอบศีรษะไว้อีกทีหนึ่ง นิมนต์พระ 4 รูป มาสวดพระปริตรยืนถือผ้าสังฆาฏิ รูปละมุมเป็น 4 มุม เพื่อขับไล่ผีต่างๆ ที่สิงอยู่ในร่างกายของผู้ป่วย ผีในที่นี้หมายถึง ผีพราย ผีกละ หรือผีปอบ ผีกละยักษ์ ผีสองนาง ผีป่า ผีโหง โดยเฉพาะผีพรายจะสิงอยู่ในร่างมนุษย์นานกว่าผีอย่างอื่น(วัดอุทกวนาราม, 2552)