ประติมากรรม

1. รูปปั้นสิงห์บริเวณทางขึ้นทิศตะวันออก

สิงห์บริเวณทางขึ้นด้านทิศตะวันออก  ประติมากรรมสิงห์ยืนตรงทั้ง 4 ขา อยู่บริเวณหน้าบันไดนาค ก่อนเข้าสู่พื้นที่วัดในเขตพุทธาวาส ทางทิศตะวันออกมี 2 ตัว ฝั่งซ้ายและขวา มีการประดับลวดลายปูนปั้นลายกระหนก บริเวณ เศียร คอ บริเวณโคนขาหน้าและหลังเป็นลายคล้ายใบไม้ (พรรณนิภา  ปิณฑวณิช, 2546)


2. รูปปั้นสิงห์นูนต่ำ ภายในวิหารน้ำแต้ม

ลวดลายปูนปั้นลายสิงห์เทินหม้อปูรณฆฎะ ในหม้อปูรณฆฎะประกอบด้วยดอกบัว 5 ดอก และช่อดอกไม้ใบไม้เลื้อยออกจากหม้อในลักษณะล่นเครือเถา ลักษณะลายเส้นม้วนโค้งของกระหนก ปลายหางของสิงห์ เป็นลักษณะกระหนกที่มีหัวบากม้วนโค้งเช่นเดียวกับลวดลายที่แท่นวางดอกไม้และเครื่องบูชา ลายดอกไม้ 5 ดอก มีการจัดวางที่คล้ายคลึง กับลายลงรักปิดทองรูปหม้อปูรณฆฏะ(พรรณนิภา  ปิณฑวณิช,2546)

ด้านขวามือพระประธาน

ด้านซ้ายมือพระประธาน