ลายใบไม้ในศิลปะแบบตะวันตก มีลักษณะของใบค่อนข้างใหญ่ มีรอยหยักที่ขอบใบ คล้ายใบผักกาดหรือใบอะแคนตัส ในศิลปะของตะวันตก ได้ปรากฏมีอยู่ในศิลปะอยุธยาตอนปลาย(สุรพล ดำริห์กุล,2544)
ลายหม้อดอกหรือปูรณฆฏะ ลักษณะของลายหม้อดอกจะเป็นก้านที่มีใบไม้ดอกไม้ขนาดเล็กๆ ปักอยู่ในหม้อปากกว้าง ที่มีลายเส้นทแยงมุมตัดกันเป็นช่องเล็กๆ มีหงส์ประกอบอยู่ทั้งสองด้าน ลายหม้อดอกนี้จะเหมือนกันทั้งสองด้าน(สุรพล ดำริห์กุล,2544)
ลวดลายภาพเทวดา ลักษณะเป็นภาพเทวดายืนอยู่บนดอกบัว กระทำอัญชลีพร้อมช่อดอกไม้ ซึ่งเป็นดอกบัว ชี้ให้เห็นว่างานลายคำเหล่านี้เป็นงานที่มีอายุ อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 24 ลงมา(สุรพล ดำริห์กุล,2544)