พระพุทธรูปปางมารวิชัย

1. พระพุทธรูปปางมารวิชัยภายในวิหารพระพุทธ

พระประธานภายในวิหารพระพุทธ ปางมารวิชัย รูปแบบศิลปะเชียงแสนใต้ ผสมกับแบสุโขทัยได้สัดส่วนสวยงาม มีขนาดใหญ่ที่สุดในวัด หน้าตักกว้าง 2 วา 2 ศอก 1 คืบ สูง 2 วา 2 ศอก 1 คืบ ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีขนาดใหญ่ บริเวณห้องที่ 4 มีการตกแต่งลวดลายภายในวิหาร(พรรณนิภา  ปิณฑวณิช, 2546)

พระพุทธรูปปางมารวิชัยภายในวิหารพระพุทธ

2. พระพุทธรูปปางมารวิชัยภายในวิหารน้ำแต้ม

พระประธานภายในวิหารน้ำแต้ม เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัย ด้านหลังเป็นจิตรกรรมต้นศรีมหาโพธิ์ ตอนตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิ์เป็นพระพุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์(พรรณนิภา  ปิณฑวณิช, 2546)

พระพุทธรูปปางมารวิชัยภายในวิหารน้ำแต้ม

3. พระพุทธรูปปางมารวิชัยภายในวิหารพระเจ้าศิลา

ภายในวิหารละโว้  ประดิษฐานพระพุทธรูปนาคปรก สมัยลพบุรีหรือละโว้ อยู่ภายในมณฑปที่ได้รับการซ่อมแซมแล้ว ตามตำนานกล่าวว่าพระพุทธรูปองค์นี้ พระนางจามเทวี นำมาจากละโว้ เสาวิหารแต่เดิมตกแต่งด้วยลายลงรักปิดทองปัจจุบันเป็นเสาปูนสี่เหลี่ยมย่อมุมซึ่งได้รับอิทธิพลแบบภาคกลาง(พรรณนิภา  ปิณฑวณิช, 2546 )

พระพุทธรูปปางมารวิชัยภายในวิหารพระเจ้าศิลา

4. พระพุทธรูปปางมารวิชัยภายในวิหารต้นแก้ว

ภายในวิหารต้นแก้ว ประดิษฐานพระประธานปางมารวิชัยและพระปางไสยาสน์ซึ่งย้ายจากวิหารพระพุทธ เสาภายในวิหารเป็นเสาไม้กลมทาสีดำเชิงเสาทาสีแดง เพดานทาสีเหมือนฝ้าเพดานวิหารพระเจ้าศิลา (พรรณนิภา  ปิณฑวณิช,  2546)

พระพุทธรูปปางมารวิชัยภายในวิหารต้นแก้ว